คำว่า "AEC" ขณะนี้ เป็นคำพูดยอด HOT HiT กับโครงการต่าง ๆ หลาย ๆ คนก็พอเข้าใจว่าหมายถึง อะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนก็ยังสงสัยอยู่ว่า "AEC" คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง เพราะช่วงนี้ ต่างก็เกาะติดกับกระแส AEC
ไม่ว่าในห้องประชุม อบรม สัมมนา ต่างก็มีเป้าหมายเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับคำนี้...

"ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ ASEAN Economic Community

อาเซียน(ASEAN) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 สมาชิกเริ่มแรกมี 6 ประเทศ คือบรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย
มาเลเซียน ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และไทย ภายหลังได้มีสมาชิกเพิ่มขั้นอีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม หรือที่เรียกกันว่า CLMV
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคอันจะนำไปสูความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายความร่วมมือ และการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้นโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) เมื่อปี 2535
ในปี 2546 อาเซียนได้กำหนดทิศทางที่แน่ชัดว่า ความร่วมมือจะต้องเดินทางไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
ภายใจปี 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อีกสองเสาหลัก
คือประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community)
และได้มีการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อการดำเนินงานไปสู่ประชาคมอาเซียน

เป้าหมายสำคัญของการเป็น AEC
การที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจในช่วงสิ้นปี 2558(คศ.2015) อาเซียนได้จัดทำแผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ
หรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 เรื่องดังนี้...
1. การเป็นตลาดเดียว และฐานการผลิดร่วม ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่ขันทางเศรษฐกิจอาเซียน การสร้างความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น นโยบายการแข่ขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้น,ฐาน (การเิงิน การขนส่ง และเทคโนโลยี่สารสนเทศ)
3. การพัฒนาเศรษฐกินอย่างเสมอภาค การรวมกลุ่มทางเศรษฐกินของสมาชิก และบดข่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่
เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs
4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การรวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียน กับประเทศภายนอกภูมิภาค
เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิด/จำหน่าย เป็นต้น

ผลผูกพันต่อประเทศไทยในการรวมตัวเป็น AEC
การเปิดเสรีการค้าสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) มาตรการด้านภาษี อาเซียนมีเป้าหมาย
ที่จะต้องดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้าสำหรับกลุ่มอาเซียน 6 ภายในปี 2553 (คศ. 2010) และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ(CLMV) ในปี 2558 (คศ.2015)
ซึ่งไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 ดังนั้นสามารถกล่าวได้การรวมตัวกันเป็นAEC จึงไม่ทำให้ไทยต้องลดภาษีสินค้าใด ๆ เพิ่มเติมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) อาเซียนได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีการลดมาตรการ NTMsซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการโควต้าภาษีของสินค้าเกษตร 3 ชุด
โดยต้องยกเลิกมาตรการโควต้าในปี 2551, 2552 และ 2553 ในขณะนี้ประเทศไทยได้กำเนินการเรียบร้อยแล้วเกือบทั้งหมด ยังขาดเพียงแต่ข้าว
ที่กำลังอยู่ระหว่างการหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางและมาตรการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าว

การเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2553 ในสาขาบริการสำคัญ ( Priority Integration Sector)
ได้แก่สาขาเทคโนโลยี่สารสนเทศ สาขาสุขภาพ และสาขาการท่องเที่ยว ภายในปี 2556 ในสาขาโบจิสติกส์ และภายในปี 2558 ในสาขาบริการอื่น ๆ ทุกสาขา
ทั้งนี้สามารถยกเว้นสาขาที่อ่อนไหวได้

การเปิดเสรีการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลงกัน และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายจะเปิดเสรียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
โดยให้สมาชิกมีมาตรการปกป้องที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบ การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ ของแต่ละประเทศ

การดำเนินการตามความร่วมมือรายสาขาอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือด้านเหมืองแร่ ความร่วมมือด้าน SMEs การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม เทศโนโลยยี่สารสนเทศ พลังงาน)

ความเกี่ยวข้อง และบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรมในบริบทของ AEC
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ได้เข้าร่วมในการเจรจา เสนอแนะท่าทีเพื่อกำหนดระยะเวบาในการลดภาษี และกฏว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่เหมาะสม
ในการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน(Asean Industrial Cooperation Scheme)
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน แบะสนับนุนการแบ่งผลิด และการใช้วัตถุดินในภูมิภาค

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สศอ,) เป็นหน่วยงานหลักฝ่ายไทย ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า
ลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า(Technical Barriers to Trade: TBT) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
สำนนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(สกท.) เป็นหน่วยงานหลักฝ่ายไทยที่รับผิดชอบเรื่องการเปิดเสรีสาขาการลงทุน
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) รับผิดชอบความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(สสว.) เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมกำหนดแผนงานความร่วมมือและดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมของอาเซียน

ผลกระทบของ AECและการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทย
ผลกระทบเชิงบวก

การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีในปี 2553 เป็นร้อยละ 0 ทั้งหมาดยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหว และอ่อนไหวมาก (Sensitiver and Highly Sensitive) ของกลุ่มอาเซียน 6
รวมทั้งประเทศไทย และ ปี 2558 สำหรับกลุ่ม CLMV เป็นการอุปสรรคทางการค้า และส่งเสริมในอาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกของไทย
โดยตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ทั้งนี้ในปี 2553 มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนมีจำนวน 2.37 ล้านล้านบาทหรือร้อยละ 22.7 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย (เพิ่มจากร้อยละ 20 ในปี 2552)
ต้นทุนในการผลิตของไทยต่ำลง สามารถนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิต ได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการสร้างเสริมโอกาสการลงทุนเมื่อประเทศอาเซียน
มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรรีมากยิ่งขึ้น เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกาอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน เป็นพันธมิตาทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ๆ
เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก

ผลกระทบเชิงลบ
สินค้าของประเทศอาเซียนอื่นเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยดไม่มีภาระภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่าการนำเข้าจากอาเซียน ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน(Infrastructure)
ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน(Labor productivity) และไม่มีการปรับปรุงกฏระเบียบกฏหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน
อาจทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากประทเศไทย ไปยังประเทศอื่น ๆ ใน ASEAN ที่เหมาะสมกว่า
การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน และต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศที่ค่าแรงถูกว่าเข้ามาแทน และอาจก่อปัญหาทางสังคม และเนื่องจากทิศทางนโยบายของไทยคือ การเป็น "รัฐสวัสดิการ"
ทำให้งบสวัสดิการของรัฐส่วนหนึ่ง จะไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว
ตลาดสินค้าในประเทศ(Domestic Market)
หากตลาดภายในของไทยยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้น อาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้
เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทสรองรับ รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตได้

สภาอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัวดังนี้....
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านแรงงาน เทคโนโลยี รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิดให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดโลก เพื่อที่จะสามารถแข่งขันไทย
การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ หาตลาดส่งออก ปรับปรุงการผลิตให้สามารถปฏิบัติตามกฏถิ่นกำเนิดสินค้า
ของอาเซียนได้ รวมถึงการบริหารจัดการ การจัดหาวัตถุดิบราคาถูก และมีคุณภาพดีในภูมิภาค การปรับปรุงโครงสร้างภาษีของไทย
ทั้งระบบเพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการไทย ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการผลิต(Production Network) เพื่อให้สามารถสร้าง Economy of Scale
เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ปรับปรุงแก้ไขกฏระเบียบที่เป็นอุปสรรคตจ่อการผลิต การลงทุนในภาคอุตสาหกรรม มีกลไกที่ก่อให้เกิดความเสมอภาค
ในการเข้าสู่ตลาดภายในประเทสอย่างเป็นรูปธรรม

ประเด็นเกี่ยวกับ AEC ที่ผู้นำท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวต้องรู้ : Local Awareness
วัตถุประสงค์วันนี้คือ...
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ภูกต้อง เรื่องประชาคมอาเซียน (AC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
2. เปิดโลกทัศน์ให้ทุกท่านเห็นการเปลี่ยนแปลง และต้องคิดเพื่อส่วนรวม และมองไปข้างหน้า
3. สร้างแรงบันดาลใจมองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจ และสนุกกับการฟังในวันนี้
4. กีุตุ้นให้ทุกท่านค้าหาตัวเอง และค้นหาองค์กรของท่าน ... ว่าจะปรับตัวกับการเปิดเสรีอาเซียนอย่างไร ?
ท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม 9 รุ่น(ประมาณ 1,800 คน) และการบรรยายให้กับชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย 2 และที่อื่น ๆ อีกมากมายก็คงจะได้นำความรู้
มาแบ่งปันกับทุกท่านที่นี่ เพื่อต่อยอดงานของท่านแบบ 3V คือ 1. Value added, 2. Value Creation, และ 3. Value Diversity
แนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคต คือภาคอีสาน ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเน้นไปที่ผู้นำชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท่องเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต้องทำการศึกษาเชิงลึกว่าจุดแข็ง จุดอ่อนแต่ละประเทศเป็นอย่างไร การท่องเที่ยวทำให้เกิด ASEAN Conectivity อย่างรวดเร็ว



สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในวันนี้ คือ...

=ต้องคิดและวิเคราะห์ให้ดี ว่าโอกาส และการคุกคามเป็นอย่างไร มีผลกระทบกับตัวเราอย่างไร มีโอกาสเจรจาต่อรองกับประเทศเหล่านั้นได้
=มีทัศนคติที่เป็นบวก อย่าไปยอมแพ้ในสิ่งต่าง ๆ
=ตลาดการท่องเที่ยวในอาเซียนเพิ่มขึ้น แล้วจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวแค่ไหน การปรับตัวที่สำคัญที่สุด คือการปรับทัศนคติ(Mindset)
=รักษาความเป็นไทย และเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้
=ต้องมีการเพิ่มทักษะการสื่อสารเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อให้อยู่รอดในอาเซียน
=ต้องมีความใฝ่รู้ และต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ หลังจากนั้นก็จะสามารถเอาชนะอุปสรรคได้
=ทุนมนุษย์ที่เป็น....
-Human Capital (ทุนมนุษย์)
-Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา)
-Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม)
-Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข)
-Social Capital (ทุนทางสังคม)
-Sustainability Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน)
-Talented Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)

=ทุนที่สำคัญที่สุด ทุนทางจริยธรรม รองลงมาคือ ทุนทางปัญญา และทุนแห่งความสุข : ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการทำงาน ที่จะต้องถามตัวเอง ว่าทำงาน อย่างมีความสุขหรือไม่
=ทุนทางสังคม หรือ Networking คือคนเราจะต้องมีเครือข่าย หรือแนวร่วม
=ทุนแห่งความยั่งยืน ต้องมีการวางแผนเพื่อวันข้างหน้าด้วย
=ทุนทางวัฒนธรรม อยู่ในตัวเรา

ทฤษฏี HRDS

-Happiness ต้องแบ่งปันความสุขซึ่งกัน และกัน
-Respect ยกย่อง
-Dignity ให้ศักดิ์ศรี
-Sustainability เพื่อที่จะอยู่อย่างยั่งยืน


การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย ๘K's + ๕K's และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ จะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่ประชาคมอาเซี่ยนคือ...

-Standard มีมาตราฐาน
-Quality มีคุณภาพ
-Excellence มีความเป็นเลิศ
-Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้
-Best Practice เป็นแบบอย่างการปฎิบัติที่ดีที่สุด

ความเกี่ยวเนื่องต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวคือ...
โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และที่สำคัญด้านภาษา

นอกจากนี้แล้วยังมีผลกระทบโดยตรงต่อ...

-การเปิดสินค้าเสรีทางการเกษตร 23 รายการ
-การลงทุนแรงงานเสรี
-รูปแบบธุรกิจ และการแข่งขันเสรี
-สินค้า และบริการ, การลงทุน และเงินทุนเสรี

ภูดิศ : เรียบเรียงข่าว - บันทึก.... ข้อมูลโดย : สำนักงานการท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัดชัยภูมิ

 

กลับหน้าแรก หอการค้าจังหวัดชัยภูมิ

 

count web page traffic

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่งเสริมการค้า พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าชีวิต คือภารกิจหอการค้า

หอการค้าจังหวัดชัยภูมิ : THE CHAIYAPHUM CHAMBER OF COMMERCE
310/90 Nonthanakorn Road, Muang Chaiyaphum 36000
310/90 ถนนนนทนาคร อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000

0-4481-1511 / 086-460-4967 Fax : 0-4481-7770
ที่ปรึกษา : นายวรวุฒิ ฉวีชัย (ประธานหอการค้าจังหวัดชัยภูมิ)
ข้อมูล : นายสิทธิพล สุทธิศักดิ์ภักดี (เลขาธิการหอการค้าจังหวัดชัยภูมิ) และคณะกรรมการบริหารวาระปี 56-57
ภาพ-ข่าว-ติดต่อผู้ดูแลเวปไซต์ :
ภูดิศ ศิริภาณุภัค 08-7868-3223 รองเลขาฯ สายงานท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม

Copyright@2011chaiyaphumchamber all right reserved.